ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Featured Post

Apple M1 Chip - CPU ในคอมพิวเตอร์ตัวแรกจาก Apple

 Apple ได้ทำการเปิดตัว CPU ในคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างด้วยบริษัท Apple เอง โดยใช้ชื่อว่า Apple M1 หรือบางคนก็เรียก CPU กลุ่มนี้ว่า Apple silicon โดย Apple M1 นั้นใช้สถาปัตยกรรมการออกแบบเดียวกันกับ A14 CPU ที่ถูกใช้ใน iphone12 นั่นเองครับ แต่ว่า M1 CPU ไม่ได้นำ A14 มาใช้เฉยๆนะครับ Apple ได้ปรับให้ M1 มีประสิทธิภาพที่มากขึ้นและมีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอีกด้วยครับ ตัว Apple M1 นั้นมาพร้อมกับจำนวน CPU core ที่ 8 core โดยเพิ่มมาจาก A14 ที่มี 6 core ครับ นอกจาก Core ของ CPU ที่ถูกเพิ่มขึ้นมาแล้ว เรื่องการที่ M1 นั้นถูกออกแบบมาสำหรับ Laptop ทำให้มันสามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงขึ้นได้มากกว่าในโทรศัพท์มือถือหรือแท็ปเล็ต ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆสำนักต่างเชื่อว่า CPU ตัวนี้จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ขึ้นมากๆอีกด้วยครับ ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากหน้าเว็ป Apple เทียบกับรุ่นเดิม กราฟฟิคสูงขึ้น 5 - 6 เท่า ประสิทธิภาพด้าน ML เร็วขึ้นสูงสุด 11-15 เท่า ใช้งานแบตเตอรรี่ได้นานขึ้น ในด้านของราคานั้นยังคงราคาเดิมครับ Mac MINI เปิดตัวที่ 22900 บาท Mac Air เปิดตัวที่ 32900 บาท Mac Pro เปิดตัวที่ 4

18 ข้อผิดพลาดที่อาจทำลายธุรกิจ Startup ของคุณได้เลย

18 ข้อผิดพลาดที่อาจทำลายธุรกิจ Startup ของคุณได้เลย


1. ผู้ก่อตั้งแค่คนเดียว ในความคิดเห็นของ Paul Graham แห่ง Y Combinator ผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียวแทบจะไม่มีโอกาสเลยที่จะระดมทุนได้ ส่วนใหญ่ Startup ที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมีทีมที่แข่งแกร่งอย่างน้อยก็สองคน 

2. อยู่ในแวดวงที่แย่ คุณควรพาตัวเองมาอยู่ในแวดวงที่สามารถหาเครือข่าย นักลงทุน ผู้ที่จะสนับสนุน Startup ของคุณให้เติบโตได้

3. เลือกตลาดเฉพาะกลุ่มที่แคบเกินไป ถึงคุณต้องการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ดุเดือด แต่ก็ไม่ควรเลือกตลาดเฉพาะกลุ่มที่แคบมากๆ เช่นกัน

4. ไอเดียที่ลอกแบบมา มันเป็นไปได้ยากที่คุณจะสร้าง Twitter สำหรับสัตว์เลี้ยง หรือ Google ในโลกแห่งอนาคตให้เป็นตำนานอย่าง Twitter หรือ Google เอง

5. ความดันทุรัง การไม่รู้จักปรับตัวทำให้ Startup ล้มหายตายจากไปหลายรายแล้ว มันสำคัญมากที่จะฟังเสียงของลูกค้าและต้องปรับตัวอยู่เสมอ

6. จ้างโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ดี คุณควรจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีเองเสียก่อน หรืออย่างน้อยก็มีโปรแกรมเมอร์ที่เชื่อถือได้ในทีมของคุณ เพราะโปรแกรมเมอร์ที่ดีมักจะขาดแคลนอยู่เสมอ

7. เลือกผิด Platform เมื่อ Startup ของคุณมีลูกค้ามาใช้ (Traction) สิ่งที่ตัดสินต่อไปว่าธุรกิจของคุณจะรอดหรือเจ๊ง ก็คือคุณจะขยายขนาดธุรกิจได้เร็วแค่ไหน ซึ่งถ้าคุณเลือก Platform ผิดก็จะทำให้การขยายธุรกิจของคุณติดเป็นคอขวด และลูกค้าก็มักจะไม่รอนานจนกว่าคุณจะหาทางออกได้หรอก

8. เปิดตัวช้าเกินไป ก่อนที่คุณจะเปิดตัว ไม่มีใครรู้จักบริษัท Startup ของคุณมาก่อน ถ้าคุณยิ่งเปิดตัวช้า คุณยิ่งได้รับคำตอบช้าว่าคุณมาถูกทางหรือไม่

9. เปิดตัวเร็วเกินไป ถ้าคุณเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคุณเร็วเกินไป แต่คุณยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับการขยายตัวของบริษัทหรือขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

10. ไม่มีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ก่อนที่คุณจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ คุณควรแน่ใจเสียก่อนว่ามีกลุ่มลูกค้าที่สนใจและอยากจะใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณจริงๆ

11. ระดมทุนจำนวนเงินน้อยเงินเกินไป คุณไม่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้เต็มประสิทธิภาพได้ถ้าเงินไม่พอ

12. ใช้จ่ายมากเกินไป ก่อนที่บริษัทจะโตพอที่จะระดมทุนในรอบถัดไปได้ ถ้าเงินคุณหมดไปเสียก่อน บริษัทก็ถึงจุดจบได้ง่ายๆ

13. ระดมทุนจำนวนเงินมากเกินไป คุณอาจจะรู้สึกเหมือนคุณประสบความสำเร็จ แต่ใจความสำคัญคือคุณต้องใช้เงินจำนวนนั้นก่อให้เกิดมูลค่ามากที่สุด คนที่คุณต้องทำให้ประทับใจมากที่สุดคือลูกค้า ไม่ใช่นักลงทุน

14. รับมือกับนักลงทุนไม่ได้ ถ้าให้เลือกระหว่างทำให้นักลงทุนพอใจ กับลูกค้าพอใจ ให้เลือกลูกค้าไว้ก่อน เพราะถ้าลูกค้าพอใจแล้วยังไงคุณก็สามารถทำเงินให้กับนักลงทุนได้อยู่ดี

15. เห็นแก่กำไรมากกว่าลูกค้า เงินจะตามมาทีหลังถ้าคุณทำให้ลูกค้าของคุณพอใจได้เสียก่อน ดังนั้นหลักก็คือคุณต้องทำในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและพอใจ แล้วเงินจะตามมาเองในที่สุด

16. ทื่อเกินไป คุณไม่สามารถแก้ไขทุกปัญหาโดยการเขียนโปรแกรม การทำธุรกิจคือการสร้างสายสัมพันธ์ คุณควรออกไปพูดคุยทำความรู้จักกับผู้คนที่ช่วยสนับสนุนคุณได้

17. ไม่กล้าที่จะทะเลาะ ความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นเรื่องปกติมาก ธรรมชาติของผู้ก่อตั้งบริษัทล้วนมีความคิดเป็นของตัวเองและมีความทะเยอทะยาน ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทะเลาะกันบ้างในบางเวลา แต่ก็ควรจะทำความเข้าใจกันได้โดยไว

18. ไม่พยายามเต็มที่ ถ้าคุณไม่ได้รู้สึกว่า Startup ของคุณมีความหมายกับคุณมาก หรือคุณมีสิ่งอื่นๆ ที่อยากทำพอๆ กัน นั่นคุณอาจจะต้องพิจารณาโปรเจกต์ Startup ของคุณใหม่อีกครั้งนึง


คัดลอกมาจาก >> https://www.facebook.com/DisruptUniversity/photos/a.906265579466540.1073741858.268699216556516/908228905936874/?type=1&theater

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ปัญหาเปิด Folder Download แล้วช้า

ผมพบว่า Notebook ส่วนตัวที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน รวมถึง Notebook ของที่ทำงาน มีปัญหาเดียวกัน คือเมื่อเวลาที่เปิด Folder Download แล้วเครื่องจะมีอาการช้า โดยจะมีแถบสีเขียววิ่งจากทางซ้ายไปขวา เหมือนเครื่องกำลังโหลดอะไรบางอย่างอยู่ Folder Download บน Windows10

คลิกขวาแล้วค้างหรือช้า เกิดจากอะไร แก้ได้ยังไง

สวัสดีครับเพื่อนๆ เพื่อนๆหลายคนอาจจะพบปัญหาเดียวกับผม เวลาที่เราคลิกขวาบน Desktop แล้วจะมีอาการคอมพิวเตอร์โหลดนานมาก ถึงปัญหาแบบนี้ไม่ได้เกิดจากคอมพิวเตอร์ช้าโดยตรง แต่เอาจริงๆ มันก็น่าหงุดหงิดกับการช้าของเครื่องเหมือนกันนะครับ 555

จัดสเป็คคอมตามงบสำหรับเล่นเกมส์หรือทำงาน Update กรกฏาคม 2020

จัดสเป็คคอมพิวเตอร์ตามงบ สำหรับเล่นเกมส์ทำงาน Update July 2020 นะครับ ** สเป็คคอมเหล่านี้ไม่รวมหน้าจอนะครับ ไว้มีเวลาจะหาข้อมูลหน้าจอมาฝากครับ จัดสเป็คงบ 5000 บาท  สำหรับใช้งานทั่วไปได้ SSD ด้วย CPU AMD Athlon 200GE ราคาประมาณ 1345 MB GIGABYTE A320M-S2H ราคาประมาณ 1430 RAM BLACKBERRY DDR4 4GB (4GBx1) 2666 x 1 ราคาประมาณ 605 SSD Western Digital WD GREEN 120GB x 1 ราคาประมาณ 830 PSU NEOLUTION ETERNITY-550W ราคาประมาณ 410 CASE CUBIC Armor Plus Black ราคาประมาณ 510 ราคารวมโดยประมาณ   5130 บาท จัดสเป็คงบ 10000 บาท  สำหรับใช้งานทั่วไป Set Intel ได้ SSD ด้วย CPU INTEL Celeron G4950 ราคาประมาณ 1940 MB GIGABYTE H310M H ราคาประมาณ 1590 VGA INNO3D GT1030 0dB 2GB x 1 ราคาประมาณ 1990 RAM KINGSTON HyperX FURY DDR4 4GB (4GBx1) 2666 Black x 1 ราคาประมาณ 660 HDD Toshiba P300 1TB HDWD110 x 1 ราคาประมาณ 1060 SSD Western Digital WD GREEN 120GB x 1 ราคาประมาณ 830 PSU DTECH PW007 500W ราคาประมาณ 630 CASE AERO COOL Split TG RGB ราคาประมาณ 900 COOLING ID-COOLING SE-802 ราคาประมาณ 390 ราคารวมโดยประมาณ